
ปากกาลดน้ำหนักคืออะไร
เป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดจากประเทศเดนมาร์กช่วยควบคุมน้ำหนัก ควบคุมความอยากอาหาร ช่วยลดความหิว ทำให้อิ่มเร็ว และอิ่มนานขึ้น พอลดปริมาณอาหารโดยไม่ทรมาน น้ำหนักเลยลดลงอย่างนุ่มนวล ได้ผลชัดเจน และปลอดภัย ได้รับ อย.อเมริกา ยุโรป และอย.ไทย สามารถลดน้ำหนักได้ดีและต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ข้อดีของปากกาลดน้ำหนักที่ทำให้เป็นที่นิยมคือ สามารถใช้เองได้ที่บ้าน ลักษณะเป็นด้ามปากกา สะดวก สามารถพกพาไปได้ที่ทุก
ฉีดแล้วจะกลับมาอ้วนอีกไหม จากการศึกษาคนไข้กว่า 2000 คนที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน พบว่ากว่า 56% สามารถลดน้ำหนักสำเร็จได้ภายใน 1 ปี และกว่า 50% สามารถคุมน้ำหนักได้ต่อเนื่องตลอด 3 ปี
ต้องฉีดปริมาณเท่าไหร่ แพทย์จะเป็นผู้ประเมิณปริมาณยา และการปรับยาในแต่ละวัน โดยแตกต่างกันไปตามสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคลอย่างใกล้ชิด
สามารถลดน้ำหนักได้เท่าไหร่ จากการศึกษา ตัวอย่างคนไข้กว่า 3700 คน พบว่า 3 ใน 5 ลดน้ำหนักได้กว่า 5 กก. และ 1ใน10 ลดน้ำหนักได้กว่า 5 กก.
หลักการทำงานของปากกาลดน้ำหนัก
ภายในปากกาจะมีเปปไทด์ ซึ่งมีความคล้ายกับฮอร์โมนธรรมชาติ(ที่ช่วยควบคุมความหิว) โดยปกติแล้วร่างกายจะสร้างสาร GLP-1 ได้เอง แต่จะสลายไปในเวลา 2-4 นาที แต่ในปากกานี้จะอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง ทำให้รู้สึกอิ่มนาน อิ่มไวขึ้นนั่นเอง จึงเป็นตัวช่วยในการควบคุมการอยากอาหาร ทำให้น้ำหนักของเราลดลงมา
ข้อดีของปากกาลดน้ำหนัก
– ช่วยให้น้ำหนักลดลงได้ง่ายขึ้น สัดส่วนดีขึ้น(ลดทุกส่วน)
– ควบคุมปริมาณอาหารที่ทานได้ อย่างเป็นธรรมชาติ ( หิวน้อยลง จึงทานน้อยลงโดยไม่ทรมาน )
– ช่วยให้อิ่มได้นานขึ้นช่วยลดนิสัยการกินจุกจิก กินไม่เป็นเวลา
– ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น ช่วยในเรื่องของระบบความจำ
– สุขภาพดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอื่นๆ
–ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ไม่ส่งผลต่อระบบประสาท
– ใช้ง่าย ไม่เจ็บระหว่างฉีด
– ไม่กลับมาอ้วน ไม่มีโยโย่เอฟเฟค
ตำแหน่งการฉีด
ครั้งแรกของการฉีดแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด ฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังแนะนำให้ฉีดยาวันละครั้ง (แนะนำฉีดหลังมื้ออาหาร) โดยจะต้องฉีดในเวลาเดิมหรือใกล้เคียงกันในทุกวัน และตำแหน่งที่ฉีดคือ ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือด้านหน้าของต้นแขนหรือต้นขา (ห้ามฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ)
ใครไม่ควรใช้ Saxenda®?
ไม่ควรใช้หาก
•ตัวเองหรือคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์
•แพ้ยา liraglutide
•ท้องหรือมีแผนจะตั้งครรภ์
•ผู้ที่ให้นมบุตร
ควรบอกข้อมูลแพทย์หาก
•มียารับประทานประจำ
•มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคตับ โรคไต โรคตับอ่อน
•มีโรคซึมเศร้า